เมนู

ความทุกข์อันมีความเกี่ยวข้องกันเป็นเหตุ ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย
ฝ่ายอื่นได้ด้วยอโทสะ. เพราะบุคคลไม่มีโทสะประทุษร้ายแล้ว ก็ไม่มีความ
สำคัญแม้ในบุคคลทั้งหลายที่จองเวรกัน. ผู้ดับเข็ญในสัตว์และสังขารทั้งหลาย
ในฝ่ายความเฉยได้ด้วยอโมหะ. เพราะคนไม่หลงก็ไม่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด.
การเห็นอนิจจังย่อมมีด้วยอโลภะ เพราะบุคคลโลภแล้วย่อมไม่เห็นสังขารแม้
ไม่เที่ยงโดยความเป็นไม่เที่ยง โดยมุ่งจะใช้สอย. การเห็นทุกข์ย่อมมีด้วยอโทสะ
เพราะคนมีอัชฌาศัยไม่มีโทสะ กำหนดสละอาฆาตวัตถุได้แล้วย่อมเห็นสังขาร
นั่นแหละ โดยความเป็นทุกข์. การเห็นอนัตตาย่อมมีด้วยอโมหะ เพราะคน
ไม่หลงเป็นผู้ฉลาดในการถือเอาสภาวะตามความเป็นจริง ย่อมรู้ขันธ์ 5 ซึ่ง
มิใช่ผู้เป็นใหญ่โดยมิใช่ผู้เป็นใหญ่. การเห็นอนิจจังเป็นต้น ย่อมมีด้วยคุณธรรม
3 เหล่านั้น ฉันใด แม้คุณธรรม 3 เหล่านั้น ก็ย่อมมีด้วยการเห็นอนิจจังเป็นต้น
ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ความไม่โลภย่อมมีเพราะการเห็นอนิจจลักษณะ
ความไม่โกรธย่อมมีเพราะการเห็นทุกขลักษณะ ความไม่หลงย่อมมีเพราะการ
เห็นอนัตตลักษณะ. เพราะว่า ชื่อว่าใครรู้โดยชอบว่า สิ่งนี้เป็นของไม่เที่ยง
ดังนี้แล้ว พึงให้ความรักเกิดขึ้นเพื่อต้องการสิ่งไม่เที่ยงนั้น หรือรู้อยู่ว่านี้เป็น
ทุกข์ในสังขารดังนี้แล้ว. พึงยังความทุกข์ที่เกิดจากความโกรธจัด แม้อื่นให้
เกิดซ้ำอีกทีเดียว และรู้ถึงความว่างเปล่าแห่งอัตตาแล้ว ก็พึงถึงความหลงใหล
อีกเล่า ดังนี้.

ความหมายของคำว่า อนภิชฌา



ธรรมที่ชื่อว่า อนภิชฌา เพราะไม่เพ่งเล็ง. ชื่อว่า อัพยาบาท
เพราะยังสุขทางกายสุขทางใจ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า
และการได้เกียรติ ที่ได้เฉพาะแล้วด้วยอานุภาพแห่งความดีไม่ให้พินาศ. ชื่อว่า

สัมมาทิฏฐิ เพราะย่อมเห็นโดยชอบ หรือเห็นอันงาม. คำว่า อนภิชฌา
เป็นต้นเหล่านั้นเป็นชื่อของธรรมมีความไม่โลภเป็นต้นนั่นแหละ ก็ธรรมเหล่านี้
พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งความเป็นมูล ในที่นี้พึง
ทราบว่า ท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกรรมบถ.
แม้หิริและโอตตัปปะก็พึงทราบว่า ในตอนต้นท่านถือเอาด้วย
อำนาจแห่งความเป็นพละ ในที่นี้พึงทราบด้วยอำนาจแห่งโลกบาล. จริงอยู่
ธรรมทั้ง 2 นี้ย่อมรักษาโลก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ ย่อมรักษาโลก ธรรม
2 ประการเป็นไฉน ? คือ หิริและโอตตัปปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกกธรรม
2 เหล่านี้แลย่อมรักษาโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสุกกธรรม 2 เหล่านี้ ไม่
พึงคุ้มครองโลกไซร้ ในโลกนี้ก็ไม่พึงปรากฏ คำว่า แม่ น้า ป้า ภรรยา
ของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ชาวโลกจักถึงแล้วซึ่งการปะปนกันเหมือน
อย่างพวกแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็เพราะสุกกธรรมทั้ง 2 เหล่านี้ย่อมคุ้มครองโลก ฉะนั้น จึงยังปรากฏคำว่า
แม่ น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือภรรยาของครู ดังนี้.

ความหมายของยุคลธรรม



ความสงบกายชื่อว่า กายปัสสัทธิ ความสงบจิตชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ
คำว่า กาย ในคำว่า กายปัสสัทธินี้ ได้แก่ ขันธ์ 3 มีเวทนาขันธ์เป็นต้น
อนึ่ง ปัสสัทธิธรรมทั้ง 2 แม้เหล่านี้รวมกันแล้ว พึงเห็นว่ากายปัสสัทธิและ
จิตตปัสสัทธิ มีการระงับความกระวนกระวายทางกายและทางจิตเป็นลักษณะ
มีการกำจัดความกระวนกระวายทางกายและจิตเป็นรส มีการเยือกเย็นไม่